วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แหล่งท่องเที่ยว



แหลมแท่น
สถานที่นี้อยู่บริเวณหาดบางแสนเลยมาทางเขาสามมุข
เป็น สถานที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง เป็นแหลมที่ยื่น ออกไป ไม่มากนัก บริเวณนี้มักจะมีผู้คนมาตกปลากันมาก และในช่วงเย็นมักมี ผู้คนมา รับประทานอาหาร โดยมีร้านค้านำเสื่อมาให้นั่งรับประทานอาหาร พร้อม

จำหน่ายอาหารทะเลสดๆ

 

หมู่บ้านชายทะเล

       เนื่องจากชาวชลบุรีประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงและจับสัตว์น้ำเป็นส่วนใหญ่ จึงนิยมปลูกบ้านเรือนเป็นกลุ่มเรียงรายไปตามริมฝั่งทะเล  บริเวณปากน้ำหรือรอบ ๆ เกาะ เรื่อยไปตามความยาวของริมฝั่ง บ้านชายทะเลมีลักษณะเป็นเรือนยกพื้นใต้ถุนสูงประมาณ ๓ เมตร ปัจจุบันเสาเรือนมักหล่อด้วยคอนกรีตเพื่อความคงทนถาวร

 

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


ตั้งอยู่ที่ถนนลงหาดบางแสน ห่างจากถนนสุขุมวิท ประมาณ 1.5  กม. เข้าทางมหาวิทยาลัยบูรพา เวลาบริการ วันธรรมดา 08.30-16.00 น. (หยุดวันจันทร์) วันหยุดราชการ 08.30-17.00 น. โทร. (038) 39-1671-3 ค่าเข้าชม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ซึ่งก่อ ตั้ง ขึ้น เมื่อ พ.ศ.2512 ต่อมาในปี พ.ศ.2523 ได้รับเงิน ช่วยเหลือจาก รัฐบาลญี่ปุ่นจำนวน 230 ล้านบาท จึงขยาย ขอบเขตงาน ให้ กว้างขวางขึ้นและ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น สถาบันวิทยาศาสตร์ ทางทะเลในอีกห้าปีต่อมา ทางสถาบันฯ จัดส่วนที่ให้ นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ คือสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ในความดูแลของ มหาวิทยาลัยบูรพา


ตั้งอยู่กึ่งกลางของทางหลวง หมายเลข3134 อ่างศิลา-บางแสน หากตรงมาจากศิลา จะต้องเลี้ยวขวาเข้าสู่ ถ. บางแสนสาย 1 ตรงเข้ามาราว ๆ 50 ม. แล้วเลี้ยวขวาอีกครั้ง เพื่อเข้าสู่ถนนรอบ เขาสามมุข จากนั้นตรงเรื่อยมาตามถนนก็จะขึ้นสู่ ศาลเจ้าแม่ สามมุข หรือเหมารถสองแถวจาก ตัวเมือง ราคา 100-150 บาท
สิ่งที่น่าสนใจ คือ จุดชมวิว ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข ร้านอาหาร
ทะเลที่อร่อยมีชื่อเสียง วัดฤาษี และมี ลิงมากมาย เมื่อไหว้ เจ้าแม่ที่ศาลแล้ว นักท่องเที่ยวอาจขับรถชมทิวทัศน์รอบ ๆ
เขาได้ เพราะ ถนนบริเวณเขาสามมุขจะเชื่อมต่อถึงกัน ถนนด้านข้าง ของศาลมีจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งจะมองเห็นแหลมแท่น ต่อ กับหาดบางแสนอย่างชัดเจน บริเวณเขาสามมุขยังมีลิงป่า
อาศัยอยู่จำนวนมาก นักท่องเที่ยวนิยมให้ขนมหรือ ผลไม้แก่ลิง

หาดบางแสน
มีบริเวณชายทะเลยาว 2.5 กม. ตามริมหาดมีร้านอาหาร ร่ม และ เก้าอี้ผ้าใบให้บริการ ทำให้หาดบางแสนยังคง บรรยากาศ สถานตาก อากาศชายทะเลแบบในอดีต
ปัจจุบัน บางแสนได้มี การพัฒนาขึ้นมาก โดยเฉพาะพื้นที่ ชายหาด ที่ดูเรียบร้อย มีการวางเรียงอิฐ ตัวหนอนได้ อย่างสวยงามตามแนวชายหาด ตลอดเส้นทาง แต่ที่หาดทรายยังคงเหมือนเดิม สำหรับผู้พักค้างคืน อยากแนะนำให้ ตื่นแต่เช้าแล้วไปเช่าจักรยานถีบ ออกกำลังกาย บนเส้นทางตาม แนวชายทะเล คุณจะรู้สึกถึงอากาศที่สดชื่นและวิวที่สวยงามมาก


การเดินทาง



การเดินทาง

การเดินทางมาชลบุรี
ชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีเส้นทางคมนาคมดีที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศ  โดยมีระบบการคมนาคมขนส่งทั่วถึงและสะดวก
ในทุกด้าน     ทั้งการขนส่งทางบก   ทางเรือ  และทางอากาศ   รวมทั้งมีการขนส่งทางท่อสำหรับสินค้าเหลว ได้แก่ น้ำมันและสารเคมี  การคมนาคมและขนส่งของจังหวัดชลบุรีในปัจจุบันอาศัยทางบกเป็นหลัก  นอกจากนั้นยังมีการขนส่งทางเรือ
และทางอากาศ   ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

ทางรถยนต์
จากกรุงเทพ ฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดชลบุรีได้หลายเส้นทาง คือ
1. ใช้เส้นทางสายบางนา-ตราด ทางหลวงหมายเลข 34 เข้าสู่จังหวัดชลบุรี
2. ใช้เส้นทางสายกรุงเทพฯ-มีนบุรี ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา-บางปะกง เข้าสู่จังหวัดชลบุรี
3. ใช้เส้นทางสายเก่า ถนนสุขุมวิท ทางหลวงหมายเลข 3 ผ่านจังหวัดสมุทรปราการ ไปจนถึงแยกอำเภอบางปะกง และให้แยกเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 34 ไปจนถึงจังหวัดชลบุรี
4. ใช้เส้นทางหลวงพิเศษ (MOTOR WAY) สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา โทร. 1193, 0 3839 2001

รถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) มีบริการรถโดยสารปรับอากาศไปชลบุรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 5.30-21.00 น. รถออกทุก 40 นาที โทร. 0 2391-9829 รถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 มีบริการระหว่างเวลา 5.00–21.00 น. ออกทุก 30 นาที โทร. 0 2391–2504 รถโดยสารธรรมดามีบริการตั้งแต่เวลา 5.00-21.00 น. ออกทุก 30 นาที โทร. 0 2391-2504 หรือจะขึ้นรถที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ก็ได้ มีรถโดยสารปรับอากาศบริการตั้งแต่เวลา 6.30-18.30 น. โทร. 0 2936-2852-66
นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ออกจาก สถานีขนส่งสายใต้ เป็นรถโดยสารปรับอากาศไปพัทยาทุกวัน วิ่งเส้นบางนา-ตราด รถไปจอดที่ สถานีรถปรับอากาศ ถนนพัทยาเหนือ ของ บริษัท รถรุ่งเรือง จำกัด เริ่มตั้งแต่เวลา 05.30-18.30 น.รถออกทุก 2 ชั่วโมง โทร. 0 2884 5582 สาขาพัทยา โทร. 0 3842 9877

รถไฟ
จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีบริการรถไฟไปจังหวัดชลบุรีทุกวัน ๆ ละ 1 เที่ยว ไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟพลูตาหลวง สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ โทร. 1690, 0 2223-4334, 0 2220-4444

ระยะทางจากจังหวัดชลบุรีไปจังหวัดใกล้เคียง
ฉะเชิงเทรา 43 กิโลเมตร
สมุทรปราการ 64 กิโลเมตร
ระยอง 98 กิโลเมตร
ตราด 234 กิโลเมตร
จันทบุรี 164 กิโลเมตร
การเดินทางภายในพัทยา
รถสองแถว วิ่งวนบริเวณเลียบหาดพัทยา และพัทยาสายสอง และวิ่งระหว่าง นาเกลือ-จอมเทียน ค่าโดยสารประมาณ 10-30 บาท รถบัสชายหาด (Pattaya Beach Bus) มีสายสีเขียว สีแดงและสีเหลือง วิ่งผ่านถนนหลักต่างๆของพัทยา ให้บริการตั้งแต่ 06.00 น.- 02.00 น.ของวันใหม่ ค่าโดยสารเที่ยวละ 30 บาท รายวัน 90 บาท ราย 3 วัน 180 บาท รายเดือน 900 บาท

การเดินทางจากอำเภอเมืองชลบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอบ้านบึง 14 กิโลเมตร
อำเภอพนัสนิคม 22 กิโลเมตร
อำเภอพานทอง 24 กิโลเมตร
อำเภอศรีราชา 24 กิโลเมตร
อำเภอเกาะสีชัง 35 กิโลเมตร
อำเภอบางละมุง และเมืองพัทยา 45 กิโลเมตร
อำเภอหนองใหญ่ 51 กิโลเมตร
อำเภอบ่อทอง 56 กิโลเมตร
อำเภอสัตหีบ 86 กิโลเมตร

ของฝากขึ้นชื่อชลบุรี



ของฝากขึ้นชื่อชลบุรี







ข้าวหลามหนองมน article

ข้าวหลามหนองมน   เป็นของฝากที่มีชื่อเสียงของ จ. ชลบุรี เพราะรสหวานมัน ข้าวเหนียวนุ่มชุ่มด้วยกะทิ มีให้เลือกทั้งข้าวเหนียวดำ ใส่ถั่วแดง เผือก ข้าวโพด เนื้อมะพร้าว เมื่อเปิดฝากระบอกดูจะเห็นเนื้อข้าวเหนียวด้านบนฉ่ำเยิ้มไปด้วยกะทิ มีจำหน่ายที่ตลาดหนองมน มีสามขนาด คือ ขนาดเล็กกระบอกละ 20 บาท ขนาดกลางกระบอกละ 25 บาท ขนาดใหญ่ 3-4 กระบอก 100 บาท


ครกหินอ่างศิลา article

ครก หินอ่างศิลา ได้รับความนิยมอย่างมากจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวตำบลอ่างศิลา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากครกหินอ่างศิลามีจุดเด่นอยู่ที่หินมีความแข็งแกร่ง ตำแล้วไม่เป็นทราย และมีสีขาวนวล หรือเหลืองอ่อน เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศตำบลอ่างศิลาประกอบด้วยหินอัด เป็นประเภทหินแกรนิต และหินทราย หินแกรนิตที่พบแทรกตัวขึ้นมาสลับระหว่างหินชัน ซึ่งพบมากตามแหล่งที่เป็นขาติดกับฝั่งทะเล และจากการที่มีหินแกรนิตซึ่งมีสีขาวนวล สีเหลืองอ่อน และมีความแข็งแกร่งเช่น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากหินอีกหลายชนิด เช่น หินลับมีด หินแกะเป็นรูปสัตว์ สิงห์ ช้าง ม้า และอื่น ๆ ติดต่อกลุ่มทำครกหิน โทร. 038 398 114 หรือ 038 715 131







ผลไม้ดินปั้นพนัสนิคม article

ผล ไม้ดินปั้น ผลิตที่บ้านหนองพรหม หมู่ที่ 12 ตำบลนาเริก อำเภอพนัสนิคม ตามเส้นทางสายพนัสนิคม-เกาะโพธิ์ เส้นทางหลวงหมายเลข 3246 ประมาณ 10 กิโลเมตร มีการปั้นดินเหนียวเป็นผลไม้ต่าง ๆ ขนาดย่อส่วนนำไปตากแดดจนแห้งแล้วนำไปทาสีให้เหมือนของจริง จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งสนิท เหมาะสำหรับเป็นของขวัญ หรือของประดับบ้าน



ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป

 จำพวก กุ้งแห้ง ปลาเค็ม ปลาหมึกแห้งและปรุงรส กะปิ น้ำปลา ฯลฯ แหล่งจำหน่ายอยู่ที่ตลาดหนองมน นอกจากนี้ยังมีอาหารประเภทอื่นขายอีกจำนวน มาก เช่น อาหารท้องถิ่น ได้แก่ ห่อหมก แจงลอน (เครื่องปรุงคล้ายห่อหมก ปั้นเป็นก้อนกลมเสียบไม้ย่าง) หอยจ๊อ และขนมหวานนานาชนิด ได้แก่ กล้วยฉาบ เผือกฉาบ ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม


อ้อยศรีราชา article

อ้อยศรีราชา มีรสหวานและน้ำเยอะ นิยมปลูกที่อำเภอศรีราชา เนื่องจากดินมีสภาพเป็นดินร่วนปนทราย มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 ลูกบาศก์เมตร/ปี ศรีราชาจึงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของอ้อย ซึ่งอ้อยได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดชลบุรี ทั้งนี้บริษัท ไทยออยล์ ร่วมทุนจัดตั้งบริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด เพื่อผลิตเอทานอล ขนาดกำลังการผลิต 1 แสนลิตรต่อวัน โดยใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบ นับเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจเกษตร



เครื่องจักสานพนัสนิคม article

เครื่อง จักรสาน เป็นของดีของอำเภอพนัสนิคม สามารถหาซื้อได้ที่ตลาดเครื่องจักสานพนัสนิคม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนเกาะแก้ว หลังตลาดสดเทศบาลเมืองพนัสนิคม (ตลาดเก่า) ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเครื่องใช้จำเป็นในครัวเรือน ซึ่งได้พัฒนารูปแบบให้เหมาะสมสำหรับเป็นเครื่องประดับบ้านได้ด้วย ปัจจุบันมีการตั้งศูนย์ส่งเสริมฝีมือการจักสานด้วยไม้ไผ่ ตามโครงการพระราชดำริ ที่สำคัญมีการส่งไปจำหน่ายที่ศูนย์ศิลปาชีพสวนจิตรลดาเป็นประจำ


ผลิตภัณฑ์จากระดาษใยสับปะรด article

ผลิตภัณฑ์ จากกระดาษใยสับปะรด ผลิตที่ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากใยกระดาษสับปะรด ได้แก่ กล่อง-ถุงใส่ไวน์ กล่องกระดาษทิชชู กล่องใส่เครื่องหอม อัลบั้มรูป แฟ้มใส่เอกสาร ชุดซองจดหมาย กล่องกระดาษโน้ต นอกจากนั้นยังผลิตกระดาษลูกผสม กระดาษจากใยกล้วย และกระดาษจากผักตบชวาเป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 1723 0339

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเพณีท้องถิ่นชลบุรี



ประเพณีท้องถิ่นชลบุรี


ประเพณีแห่พญายม

ตำบลบางพระ  อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ที่มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเมืองชลบุรี มีเนื้อที่ประมาณ ๖๔๓.๕๕๘ ตารางกิโลเมตร (๔๐๒,๒๒๓.๗๕ ไร่) พื้นที่การเกษตร ๒๓๖,๕๔๒.๕ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๘๗๘ ของพื้นที่ทั้งหมด ระยะทางห่างจากเมืองชลบุรี โดยรถยนต์ ๒๔ กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเนินเขาเล็ก ๆ กระจายทั่วไปพื้นที่เหมาะ   แก่การทำการเกษตร และอุตสาหกรรม มีที่ราบลุ่มทำนาได้บางส่วน ทิศตะวันตกติดชายฝั่งทะเล  และไม่มีแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ไหลผ่านจะมีเฉพาะทางน้ำไหลจากภูเขาลงสู่ทะเล
ประเพณีแห่พญายม เป็นประเพณีเก่าแก่ของตำบลบางพระ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายตำบลของอำเภอศรีราชา มีการปฏิบัติโดยการสร้างหุ่นพญายม และแห่ไปลอยทะเลในเวลาโพล้เพล้ โดยมีความเชื่อถือว่าพญายมจะนำโรคภัยไข้เจ็บและเคราะห์ร้ายต่าง ๆ ไปด้วย จากการปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานานหลายหน่วยงานเริ่มเห็นความสำคัญของ การแห่พญายมและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม  ซึ่งเทศบาลตำบลบางพระเห็นความสำคัญของประเพณีแห่พญายมนี้ เนื่องจากเห็นว่าประเพณีแห่พญายมเป็นเอกลักษณ์ของชาวบางพระ มีจุดเด่นที่เป็นประเพณีที่ก่อให้เกิดการรวมพลังและรวมจิตใจของชุมชนอย่าง แท้จริง เช่นเดียวกันกับประเพณีกองข้าวของศรีราชา เป็นเสมือนวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ดังนั้นในวันไหลสุดท้ายขิงตรุษสงกรานต์ (ซึ่งถือเป็นวันปีใหม่ของไทย) ชาวบ้านจะพากันแห่พญายมที่ทำง่าย ๆ จากโครงไม้ไผ่ฟางข้าว และกระดาษแต่งแต้มด้วยดินสอพองหรือดินหม้อให้แลดูเป็นองค์ปัจจุบันมีวิธีการ ประณีต ทำรูปพญายมอย่างงดงาม นำไปปล่อยในทะเลลึกเป็นอันเสร็จพิธี


ประเพณีตักบาตรข้าวต้มหาง

 ในวันตักบาตรเทโวของทุกปี (หลังวันออกพรรษา ๑ วัน)พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันนำข้าวสารอาหารแห้ง ไปทำบุญตักบาตรแด่พระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ณ วัดเขาบางทราย อำเภอเมืองชลบุรี  จะมีพุทธศาสนิกชนมาร่วมงานจำนวนมาก สำหรับในจังหวัดชลบุรีนิยมนำข้าวต้มหางไปทำบุญตักบาตรลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด แต่ห่อให้มีขนาดเล็กกว่า ไว้หางยาวเพื่อความสะดวกในการใส่บาตร เนื่องจากในวันดังกล่าวมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากมารอตักบาตร เมื่อตักบาตรไม่ถึงก็จะใช้วิธีโยนข้าวต้มหางใส่บาตร ภาคกลางจึงเรียกข้าวต้มลูกโยน




ประเพณีแข่งเรือยาว

พื้นที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำมาบประชันซึ่งเป็นแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อรอง รับน้ำสำหรับการบริโภคและอุปโภคของประชาชนในพื้นที่และในแหล่งท่องเที่ยว เมืองพัทยา โดยบริเวณพื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำมีบรรยากาศร่มรื่น ประชาชนได้ร่วมกันปลูกต้นไม้จนเติบโตเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ในน้ำก็เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำที่ชาวบ้านได้อาศัยจับปลาด้วย เครื่องมือประมงพื้นบ้านเป็นอาหารสำหรับครัวเรือน
การแข่งขันเรือยาวเป็นกีฬาพื้นบ้านของไทยมาตั้งแต่อดีตเมื่อสมัยอยุธยาเป็น ราชธานี ถือว่าเป็นราชพิธีประจำเดือนในช่วงปลายฤดูฝน การแข่งขันเรือยาว จึงได้สืบทอดมาเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย แสดงถึงวิถีชีวิตความสนุกสนาน ความสามัคคี ซึ่งเห็นได้จากที่มีการจัดให้มีประเพณีแข่งขันเรือยาวทุกภาคของไทย
การบรวงสรวงก่อนการแข่งขันเรือยาวพัทยา เทศบาลเมืองหนองปรือและเทศบาลตำบลโป่ง จัดให้มีประเพณีการแข่งขันเรือยาวพัทยา  โดยจัดขึ้นเป้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๔  และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัล การแข่งขัน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานถ้วยรางวัลการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล พิธีบรวงสรวงก่อนเริ่มงานจึงมีขึ้น สำหรับเวลาที่จะกระทำมักจะดำเนินการก่อนบ่ายของวันจัดงานการแข่งขันเรือยาว ประเพณี (เดือนพฤศจิกายนของทุกปี) สำหรับปี ๒๕๕๕ ผู้ทำพิธีกรรม คือ นายอเนก พัฒนงาม ประธานสภาวัฒนธรรมเมืองพัทยา สถานที่ประกอบพิธีอ่างเก็บน้ำมาบประชัน สำหรับเครื่องบูชามีอาหารคาว หวานผลไม้ต่าง ๆ


มวยตับจาก

มวยตับจาก เป็นกีฬาพื้นบ้านยอดนิยมของภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดชลบุรี เพราะเนื่องจากมีการปลูกจากเป็นจำนวนมากแต่ในปัจจุบันกีฬาประเภทนี้สูญหายไป ด้วยเหตุที่ป่าจากลดน้อยลง อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน คือใบจากแห้งจำนวนมาก เพื่อปูให้ทั่วพื้นเวทีและเชือกสำหรับขึงเวที นักมวยทั้งคู่จะถูกผูกตาด้วยผ้าและจับให้อยู่คนละมุม มีกรรมการอยู่บนเวที ๑ คน จากนั้นเมื่อมีสัญญาณเริ่มชก นักมวยจะเดินออกจากมุมเพื่อหาคู่ต่อสู้ของตน กติกาการต่อย คือใครต่อยเข้าเป้ามากที่สุดก็จะได้คะแนน ใครได้คะแนนมากจะเป็นฝ่ายชนะ ชก ๓ ยก ยกละ ๒ นาที มวยตับจาก จัดเป็นกีฬาพื้นบ้านที่เสริมสร้างไหวพริบในการฟังเสียงได้เป็นอย่างดีจึง เป็นที่น่าเสียดายว่ากีฬาประเภทนี้ได้สูญหายไปแล้วตามกาลเวลาที่ผ่านมา



ประเพณีทำบุญก่อพระทรายน้ำไหล

หรือที่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่า ประเพณี วันไหลเป็นประเพณีของชุมชนตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี และชุมชนอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งถือปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วคน จนกระทั่งปัจจุบันด้วยเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามมีคุณค่าต่อชุมชน ปัจจุบันเทศบาลตำบลแสนสุข กำหนดเป็นนโยบายที่จะอนุรักษ์ ส่งเสริม ประเพณี ทำบุญก่อพระทรายนํ้าไหล ให้คงอยู่สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ชุมชนสืบไป ทั้งยังคาดหวังว่าประเพณีทำบุญก่อพระทรายนํ้าไหลนี้จะช่วยดึงดูดนักท่อง เที่ยวมาสู่พื้นที่เทศบาลตำบลแสนสุขได้อีกทางหนึ่งด้วย
จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นชุมชนชายฝั่งทะเล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการประมง มีความเชื่อและความผูกพันกับทะเลในเทศกาลสงกรานต์ชาวไทยทั้งประเทศมีประเพณี ทำบุญสร้างกุศล แสดงความกตัญญู-กตเวทิตาต่อ บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ และผู้อาวุโส ด้วยการทำบุญตักบาตร รดนํ้าขอพรจากผู้ใหญ่ และสนุกสนานรื่นเริงด้วยการละเล่นพื้นบ้าน และรดนํ้าสงกรานต์กันนั้น ชาวบ้านตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรีและชาวอำเภอเกาะสีชัง ก็มีประเพณีการทำบุญตักบาตรสรงนํ้าพระพุทธรูป รดนํ้าขอพรผู้ใหญ่ ก่อพระทราย และเล่นสงกรานต์นํ้าไหลกันที่หาดทรายชายฝั่งทะเล
ประเพณีทำบุญก่อพระทรายนํ้าไหลนี้ จัดขึ้นภายหลังวันสงกรานต์ประมาณ ๕ - ๗ วัน กล่าวคือ หลังจากที่พุทธศาสนิกชนชาวตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี และชาวอำเภอเกาะสีชัง ไปทำบุญวันสงกรานต์ที่วัดแล้วทางวัดก็จะกำหนดนัดหมายกันไปทำบุญกลางแจ้งที่ ชายหาดริมmะเล และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ดังนั้นวันประเพณีทำบุญก่อพระทรายนํ้าไหลของแต่ละชุมชนจึงอาจจะไม่ตรงกัน เช่น ที่ชายหาดบางแสนอาจจะกำหนดหลังวันสงกรานต์ ๕ วัน หาดวอนนภากำหนดหลังวันสงกรานต์     ๖ วัน เกาะสีชัง กำหนดหลังวันสงกรานต์ ๗ วัน ก็ได้ เป็นต้น เกือบทศวรรษที่ผ่านมา เทศบาลตำบลแสนสุขมีนโยบายอนุรักษ์ และส่งเสริมประเพณีก่อพระทรายนํ้าไหลให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน ต่อไป