วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเพณีท้องถิ่นชลบุรี



ประเพณีท้องถิ่นชลบุรี


ประเพณีแห่พญายม

ตำบลบางพระ  อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ที่มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเมืองชลบุรี มีเนื้อที่ประมาณ ๖๔๓.๕๕๘ ตารางกิโลเมตร (๔๐๒,๒๒๓.๗๕ ไร่) พื้นที่การเกษตร ๒๓๖,๕๔๒.๕ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๘๗๘ ของพื้นที่ทั้งหมด ระยะทางห่างจากเมืองชลบุรี โดยรถยนต์ ๒๔ กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเนินเขาเล็ก ๆ กระจายทั่วไปพื้นที่เหมาะ   แก่การทำการเกษตร และอุตสาหกรรม มีที่ราบลุ่มทำนาได้บางส่วน ทิศตะวันตกติดชายฝั่งทะเล  และไม่มีแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ไหลผ่านจะมีเฉพาะทางน้ำไหลจากภูเขาลงสู่ทะเล
ประเพณีแห่พญายม เป็นประเพณีเก่าแก่ของตำบลบางพระ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายตำบลของอำเภอศรีราชา มีการปฏิบัติโดยการสร้างหุ่นพญายม และแห่ไปลอยทะเลในเวลาโพล้เพล้ โดยมีความเชื่อถือว่าพญายมจะนำโรคภัยไข้เจ็บและเคราะห์ร้ายต่าง ๆ ไปด้วย จากการปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานานหลายหน่วยงานเริ่มเห็นความสำคัญของ การแห่พญายมและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม  ซึ่งเทศบาลตำบลบางพระเห็นความสำคัญของประเพณีแห่พญายมนี้ เนื่องจากเห็นว่าประเพณีแห่พญายมเป็นเอกลักษณ์ของชาวบางพระ มีจุดเด่นที่เป็นประเพณีที่ก่อให้เกิดการรวมพลังและรวมจิตใจของชุมชนอย่าง แท้จริง เช่นเดียวกันกับประเพณีกองข้าวของศรีราชา เป็นเสมือนวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ดังนั้นในวันไหลสุดท้ายขิงตรุษสงกรานต์ (ซึ่งถือเป็นวันปีใหม่ของไทย) ชาวบ้านจะพากันแห่พญายมที่ทำง่าย ๆ จากโครงไม้ไผ่ฟางข้าว และกระดาษแต่งแต้มด้วยดินสอพองหรือดินหม้อให้แลดูเป็นองค์ปัจจุบันมีวิธีการ ประณีต ทำรูปพญายมอย่างงดงาม นำไปปล่อยในทะเลลึกเป็นอันเสร็จพิธี


ประเพณีตักบาตรข้าวต้มหาง

 ในวันตักบาตรเทโวของทุกปี (หลังวันออกพรรษา ๑ วัน)พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันนำข้าวสารอาหารแห้ง ไปทำบุญตักบาตรแด่พระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ณ วัดเขาบางทราย อำเภอเมืองชลบุรี  จะมีพุทธศาสนิกชนมาร่วมงานจำนวนมาก สำหรับในจังหวัดชลบุรีนิยมนำข้าวต้มหางไปทำบุญตักบาตรลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด แต่ห่อให้มีขนาดเล็กกว่า ไว้หางยาวเพื่อความสะดวกในการใส่บาตร เนื่องจากในวันดังกล่าวมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากมารอตักบาตร เมื่อตักบาตรไม่ถึงก็จะใช้วิธีโยนข้าวต้มหางใส่บาตร ภาคกลางจึงเรียกข้าวต้มลูกโยน




ประเพณีแข่งเรือยาว

พื้นที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำมาบประชันซึ่งเป็นแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อรอง รับน้ำสำหรับการบริโภคและอุปโภคของประชาชนในพื้นที่และในแหล่งท่องเที่ยว เมืองพัทยา โดยบริเวณพื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำมีบรรยากาศร่มรื่น ประชาชนได้ร่วมกันปลูกต้นไม้จนเติบโตเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ในน้ำก็เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำที่ชาวบ้านได้อาศัยจับปลาด้วย เครื่องมือประมงพื้นบ้านเป็นอาหารสำหรับครัวเรือน
การแข่งขันเรือยาวเป็นกีฬาพื้นบ้านของไทยมาตั้งแต่อดีตเมื่อสมัยอยุธยาเป็น ราชธานี ถือว่าเป็นราชพิธีประจำเดือนในช่วงปลายฤดูฝน การแข่งขันเรือยาว จึงได้สืบทอดมาเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย แสดงถึงวิถีชีวิตความสนุกสนาน ความสามัคคี ซึ่งเห็นได้จากที่มีการจัดให้มีประเพณีแข่งขันเรือยาวทุกภาคของไทย
การบรวงสรวงก่อนการแข่งขันเรือยาวพัทยา เทศบาลเมืองหนองปรือและเทศบาลตำบลโป่ง จัดให้มีประเพณีการแข่งขันเรือยาวพัทยา  โดยจัดขึ้นเป้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๔  และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัล การแข่งขัน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานถ้วยรางวัลการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล พิธีบรวงสรวงก่อนเริ่มงานจึงมีขึ้น สำหรับเวลาที่จะกระทำมักจะดำเนินการก่อนบ่ายของวันจัดงานการแข่งขันเรือยาว ประเพณี (เดือนพฤศจิกายนของทุกปี) สำหรับปี ๒๕๕๕ ผู้ทำพิธีกรรม คือ นายอเนก พัฒนงาม ประธานสภาวัฒนธรรมเมืองพัทยา สถานที่ประกอบพิธีอ่างเก็บน้ำมาบประชัน สำหรับเครื่องบูชามีอาหารคาว หวานผลไม้ต่าง ๆ


มวยตับจาก

มวยตับจาก เป็นกีฬาพื้นบ้านยอดนิยมของภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดชลบุรี เพราะเนื่องจากมีการปลูกจากเป็นจำนวนมากแต่ในปัจจุบันกีฬาประเภทนี้สูญหายไป ด้วยเหตุที่ป่าจากลดน้อยลง อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน คือใบจากแห้งจำนวนมาก เพื่อปูให้ทั่วพื้นเวทีและเชือกสำหรับขึงเวที นักมวยทั้งคู่จะถูกผูกตาด้วยผ้าและจับให้อยู่คนละมุม มีกรรมการอยู่บนเวที ๑ คน จากนั้นเมื่อมีสัญญาณเริ่มชก นักมวยจะเดินออกจากมุมเพื่อหาคู่ต่อสู้ของตน กติกาการต่อย คือใครต่อยเข้าเป้ามากที่สุดก็จะได้คะแนน ใครได้คะแนนมากจะเป็นฝ่ายชนะ ชก ๓ ยก ยกละ ๒ นาที มวยตับจาก จัดเป็นกีฬาพื้นบ้านที่เสริมสร้างไหวพริบในการฟังเสียงได้เป็นอย่างดีจึง เป็นที่น่าเสียดายว่ากีฬาประเภทนี้ได้สูญหายไปแล้วตามกาลเวลาที่ผ่านมา



ประเพณีทำบุญก่อพระทรายน้ำไหล

หรือที่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่า ประเพณี วันไหลเป็นประเพณีของชุมชนตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี และชุมชนอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งถือปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วคน จนกระทั่งปัจจุบันด้วยเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามมีคุณค่าต่อชุมชน ปัจจุบันเทศบาลตำบลแสนสุข กำหนดเป็นนโยบายที่จะอนุรักษ์ ส่งเสริม ประเพณี ทำบุญก่อพระทรายนํ้าไหล ให้คงอยู่สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ชุมชนสืบไป ทั้งยังคาดหวังว่าประเพณีทำบุญก่อพระทรายนํ้าไหลนี้จะช่วยดึงดูดนักท่อง เที่ยวมาสู่พื้นที่เทศบาลตำบลแสนสุขได้อีกทางหนึ่งด้วย
จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นชุมชนชายฝั่งทะเล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการประมง มีความเชื่อและความผูกพันกับทะเลในเทศกาลสงกรานต์ชาวไทยทั้งประเทศมีประเพณี ทำบุญสร้างกุศล แสดงความกตัญญู-กตเวทิตาต่อ บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ และผู้อาวุโส ด้วยการทำบุญตักบาตร รดนํ้าขอพรจากผู้ใหญ่ และสนุกสนานรื่นเริงด้วยการละเล่นพื้นบ้าน และรดนํ้าสงกรานต์กันนั้น ชาวบ้านตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรีและชาวอำเภอเกาะสีชัง ก็มีประเพณีการทำบุญตักบาตรสรงนํ้าพระพุทธรูป รดนํ้าขอพรผู้ใหญ่ ก่อพระทราย และเล่นสงกรานต์นํ้าไหลกันที่หาดทรายชายฝั่งทะเล
ประเพณีทำบุญก่อพระทรายนํ้าไหลนี้ จัดขึ้นภายหลังวันสงกรานต์ประมาณ ๕ - ๗ วัน กล่าวคือ หลังจากที่พุทธศาสนิกชนชาวตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี และชาวอำเภอเกาะสีชัง ไปทำบุญวันสงกรานต์ที่วัดแล้วทางวัดก็จะกำหนดนัดหมายกันไปทำบุญกลางแจ้งที่ ชายหาดริมmะเล และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ดังนั้นวันประเพณีทำบุญก่อพระทรายนํ้าไหลของแต่ละชุมชนจึงอาจจะไม่ตรงกัน เช่น ที่ชายหาดบางแสนอาจจะกำหนดหลังวันสงกรานต์ ๕ วัน หาดวอนนภากำหนดหลังวันสงกรานต์     ๖ วัน เกาะสีชัง กำหนดหลังวันสงกรานต์ ๗ วัน ก็ได้ เป็นต้น เกือบทศวรรษที่ผ่านมา เทศบาลตำบลแสนสุขมีนโยบายอนุรักษ์ และส่งเสริมประเพณีก่อพระทรายนํ้าไหลให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน ต่อไป  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น